ฝรั่งเศสและโรม (1688) ของ ออกขุนชำนาญใจจง

ออกขุนชำนาญใจจงยังได้เป็นสมาชิกคณะผู้แทนอันประกอบด้วยข้าราชการสามคนที่ถูกส่งไปเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในฝรั่งเศส และสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 11 ในโรม ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในปี ค.ศ. 1688 ทูตอีกสองคนในคณะประกอบด้วยออกขุนวิเศษภูบาลและออกหมื่นพิพิธราชา[1] อีกสามวันต่อมา ครูสอนคำสอนจากตังเกี๋ยอีกสามคนได้เดินทางมาด้วย และนักเรียนชาวสยามห้าคนถูกส่งตัวไปศึกษายังวิทยาลัยหลุยส์ เลอ กรองด์ ในปารีส[6]

คณะทูตสยาม และหลวงพ่อกีย์ ตาชารด์ ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 11 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1688 หลังจากการเดินทางเยือนปารีสครั้งแรกไม่สามารถเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้ จึงเดินทางต่อไปยังโรม หลังจากเข้าพบเป็นครั้งแรก คณะทูตได้เข้าเฝ้าพระสันตะปาปาอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1689[7] ภาพจิตรกรรมคณะทูตสยามได้วาดขึ้นโดยจิตรกรที่มีชื่อเสียง คาร์โล มารัตตา

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1689 คณะทูตสยามได้รับโอกาสเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และได้มีการให้สัตยาบันสนธิสัญญาพาณิชย์เซเบเรต์ที่ได้บรรลุในปี ค.ศ. 1687[7]

หลังการสวรรคตของพระนารายณ์มหาราช พระเพทราชาได้ขึ้นครองราชสมบัติและความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับฝรั่งเศสได้เปลี่ยนแปลงไป ทำให้คณะทูตของออกขุนชำนาญติดค้างอยู่ในประเทศฝรั่งเศสรวมทั้งประสบปัญหาในการเดินทางกลับในปี ค.ศ. 1690 คณะทูตได้เดินทางกลับถึงสยามโดยกองเรือรบหกลำ อับราฮัม ดูเกส-กุยตอน แต่เนื่องจากลมฟ้าอากาศที่ไม่เป็นใจทำให้เหลือเรือรบเพียงลำเดียวที่แล่นถึงบาลัสซอรฺ ปากแม่น้ำคงคา ที่ซึ่งคณะทูตได้ลงจากเรือ[8] และเดินทางกลับอยุธยาทางบก